วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ชิพใหม่ไอบีเอ็มเหมือนสมองคน

การสร้างคอมพิวเตอร์ให้เหมือนมนุษย์เริ่มก้าวมาอีกขั้นหนึ่ง เมื่อวันอังคารที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทไอบีเอ็มเปิดตัวชิพคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ที่มีความสามารถคิดได้เองเหมือนสมองมนุษย์
   
ชิพคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบไว้นี้สามารถทำความเข้าใจกับสิ่งที่แวดล้อมตัวเองได้ สมองสั่งการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบและสะสมความรู้จากข้อมูลที่ซับซ้อนได้     แนวคิดในสมัย 50 ปีที่ผ่านมามักจะใช้วิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ฉลาดขึ้น แต่สำหรับชิพที่ได้ทำการทดลองใหม่นี้ จะเป็นลักษณะคอมพิวเตอร์ยุคใหม่เลยที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ที่รับรู้ได้หรือ คอกนีทีฟคอมพิวเตอร์ (Cognitive Computer) ซึ่งสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์และสามารถสร้างแนวคิดทฤษฎีผ่านจากประสบการณ์ได้
   
ชิพตัวนี้อยู่ในโครงการที่เรียกว่า ไซแนพซี (SyNAPSE-Systems of Neuromorphic Adaptive Plastic Scalable Eletronics) ซึ่งจะได้ผลิตชิพ 2ลักษณะ ซึ่งสามารถข้ามต่อไปยังตัวคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับรู้การมีเหตุผลได้ด้วย แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อข้อมูลที่สั่งมาทางโปรแกรมที่ถูกป้อนเข้าไปยังชิพ
   
หัวหน้าโครงการ ดร.ธรรมเมนดรา โมดา (Dharmendra Modha) สำหรับชิพตัวนี้อาจจะจินตนาการได้ว่า “เป็นโปรเซสเซอร์ร่วมที่สามารถเปลี่ยนจากแลปท้อป แทปเล็ต และโทรศัพท์มือถือมาเป็นเครื่องกลสมองที่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย”
  
ถ้าหากมองจินตนาการภาพดูก็จะคล้ายกับไฟจราจรอัจฉริยะที่สามารถมองเห็น ได้ยินเสียง ดมกลิ่นได้ หรือเป่าหวีดสัญญาณ หรือสบัดธงแดงออกมาก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุตามสี่แยก หรือถ้าเป็นของไทย ก็จะเป็นจ่าเฉยหรือหุ่นจราจรที่มีอัจฉริยะสามารถทำอะไรได้ใกล้เคียงกับตำรวจจราจรตัวจริง
   
นักวิจัยยังมองไปอีกว่าการนำชิพแบบนี้มาใช้ สามารถทำให้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถคอยสอดส่องตรวจสอบดูเรื่องเกี่ยวกับอุณหภูมิ ความกดดันอากาศ ความสูงของคลื่น ลักษณะของคลื่นเสียง และยังสามารถให้สัญญาณเตือนภัยเมื่อมีแผ่นดินไหวหรือเกิดซึนามิได้ กระทั่งในห้างขายของชำสามารถใช้เป็นเซ็นเซอร์ที่สามารถอ่านด้วยสายตา ดมกลิ่นคล้ายจมูกและวัดอุณหภูมิ ถ้าหากของสดจะเน่าเสียก็สามารถป้องกันล่วงหน้าได้
   
ดร.โมดา ได้กล่าวว่า “คอมพิวเตอร์ปัจจุบันก็เหมือนกับเครื่องคิดเลข แต่ที่เราคิดก็คือคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ที่ทำงานเหมือนสมองคน ซึ่งจะแตกต่างจากอดีตแบบคนละเรื่องเลยทีเดียว”
   
สำหรับแกนของคอมพิวเตอร์จะสามารถบรรจุโปรแกรมแบบไซแนพซีได้ถึง 262,144 ชุดและตัวไซแนพซีเอง เพื่อการเรียนรู้อีก 65,536ชุด โครงการในระยะยาวชิพขนาด 1 ตารางเซนติเมตรจะสามารถจุสายใยสมองได้ หนึ่งล้านเส้นและหนึ่งหมื่นล้านไซแรพซี ซึ่งวิธีนี้ก็จะดีกว่าวิธีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความอัจฉริยะมากเพราะใช้วิธีการออกแบบผลิตเป็นชิพได้เร็วกว่า
   
เรื่องชิพหรือโปรเซสเซอร์ที่คิดหาเหตุผลและรับรู้ได้เหมือนสมองคนก็ก้าวมาอีกขั้นหนึ่งแล้วในแนวเส้นทางอนาคตของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่คงยังไม่เท่ากับในภาพยนต์เรื่องหุ่นยนต์มนุษย์ที่เราดูกันตามโรงภาพยนตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น